การกันรั่ววาล์ว
หน้าที่ของวาล์วที่สำคัญคือต้องสามารถกั้นการรั่วของของไหลระหว่างบ่าวาล์วกับลิ้นวาล์ว และการกันรั่ววาล์ว เพื่อป้องกันของไหลเล็ดลอดการกันรั่วจึงถือว่ามีความสำคัญมากในการเลือกใช้วาล์ว
การกั้นรั่วไหลระหว่างบ่าวาล์วกับลิ้นวาล์ว
ความหยาบของพื้นผิวประกอบด้วยสองส่วนได้แก่ ส่วนที่เป็นระลอกคลื่นที่เกิดจากการปรับแต่งด้วยเครื่องจักรโดยเปรียบเทียบจากแนวกว้างระหว่างยอดคลื่น และ ส่วนขรุขระเล็กที่ทาบอยู่บนลูกคลื่นซึ่งเป็นสภาพของพื้นผิววัสดุนั้น ๆ ซึ่งแม้แต่การแต่งผิวที่ละเอียดที่สุดสภาพขรุขระก็ยังคงมีอยู่ ถ้าวัสดุที่ใช้ทำหน้าวาล์วมีค่าความเครียด(Yield)สูงพอ เส้นทางการรั่วไหลจะถูกปิดกันด้วยการเปลี่ยนรูปอย่างยืดหยุ่น(Elastic)บริเวณยอดคลื่นทำให้เกิดพื้นที่สัมผัสมากขึ้นจนสามารถปิดส่วนที่ขรุขระบนยอดคลื่นได้ สำหรับความขรุขระที่มีทิศทางตามแนวรัศมีเป็นการยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกันการรั่ว
วัสดุโลหะส่วนใหญ่มีค่าความเครียดต่ำมากดังนั้นในการกั่นรั่ววาล์วโลหะจะได้รับความเค้นเกินกว่าขีดจำกัดซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรบริเวณยอดคลื่นทำให้ประสิทธิภาพในการปิดกั้นการรั่วในครั้งต่อไปลดลง สำหรับวัสดุปิดกันแบบอ่อนเช่นยางที่มีค่าความเครียดมากกว่าเหล็กประมาณ 1000 เท่าจะทำให้สามารถแทรกตัวได้อย่างสมบูรณ์ไปตามผิวหน้าที่ประกบกันอยู่จึงทำให้ความสามารถในกันรั่วเพิ่มมากขึ้นและยังสามารถทำการปิดกันซ้ำได้อีกเรื่อย ๆ แต่วัสดุดังกล่าวจะต้องสามารถทนต่อการกันกร่อนและอุณหภูมิของของไหลด้วย
เนื่องจากการปิดตัวก่อให้เกิดการสึกหรอบริเวณผิวสัมผัสจากอนุภาคที่เสียดสี ถ้าอนุภาคมีขนาดเล็กเทียบกับขนาดความขรุขระของผิว การเสียดสีมีแนวโน้มที่จะทำให้พื้นผิวเรียบขึ้นประสิทธิภาพในการกันรั่ววาล์วจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอนุภาคมีขนาดใหญ่กว่าจะทำให้พื้นผิวหยาบมากขึ้นประสิทธิภาพในการกันรั่วจะลดลง ดังนั้นวัสดุที่ใช้ในการปิดวาล์วจะต้องทนต่อการเสียดสีได้ดี นอกจากนี้วัสดุดังกล่าวจะต้องสามารถทนการกัดเซาะและการกัดกร่อนของของไหลได้ดีด้วย